Tel : (038)488354, (038)488355, (089)6976943

cosmetic crowns and bridges

ทันตกรรมใส่ฟัน (Prosthetic Dentistry)
ทันตกรรมประดิษฐ์ (ใส่ฟัน)

คือ การบูรณะฟัน อวัยวะในช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร ด้วยวัสดุประเภทต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้น ให้คงไว้ซึ่งการทำงาน ความสะดวกสบาย และความสวยงามของช่องปาก โดยการบูรณะฟันธรรมชาติ ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป

ทันตกรรมประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปและแก้ไขปัญหาฟันที่เปราะบางหรือแตกหัก ซึ่งมีวิธีการต่างๆ ดังนี้

ครอบฟัน

ครอบฟัน ครอบฟันมีลักษณะเหมือนฟันตามธรรมชาติ ใช้ครอบบนฟันจริง เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรง ปรับปรุงรูปร่างและสีให้มีความสวยงาม ใช้เป็นตัวยึดสะพานฟัน และใช้เพื่อครอบบนรากฟันเทียม

ครอบฟัน เป็นวิธีการบรูณะฟันธรรมชาติ ที่สูญเสียเนื้อฟันที่ดีออกไปมากเกินกว่าจะสามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการอุดฟัน ทำ Inlays หรือ Onlays ได้ ควรทำ ครอบฟัน เพื่อคงสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ไว้และทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ในการทำ ครอบฟัน จำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกเพื่อการยึดติดของครอบฟัน

ครอบฟันมีหลายประเภท ได้แก่ ครอบฟันทั้งซี่ (Full Veneer Crown) และประเภทคลุมเพียงบางส่วน (Partial Veneer Crown)

ฟันที่รักษารากฟันมาแล้วส่วนใหญ่เนื้อฟันที่ดีจะเหลือน้อยและฟันจะเปราะบางกว่าปกติ ทำให้เกิดการแต่หักได้ง่าย จึงควรเสริมความแข็งแรงของฟันด้วยการทำครอบฟันร่วมกับการทำ เดือยฟัน (Post and Core) ฟันที่มีขนาดเล็ก เช่น ฟันหน้าและฟันกรามน้อย หลังจากรักษารากฟันมาแล้ว ควรที่จะทำเดือยฟันร่วมกับการทำครอบฟัน ส่วนฟันกรามใหญ่ที่มีเนื้อฟันดีเหลืออยู่มากแค่อุดโพรงฟันแล้วจึงทำครอบฟันก็เพียงพอ

สะพานฟัน

สะพานฟัน การทำสะพานฟันเป็นอีกวิธีการหนึ่งทางทันตกรรมที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปแบบติดแน่นถาวร ด้วยการติดยึดครอบฟันบนฟันซี่ข้างเคียงและเชื่อมต่อด้วยฟันปลอมระหว่างครอบฟันที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป

สะพานฟันเป็นทางเลือกหนึ่งทางทันตกรรมในการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยการใช้ครอบฟันลอย (pontic)ใช้ทดแทนฟันทีสูญเสียไปและเป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่เกาะยึดบนฟันซี่ข้างเคียง

คุณประโยชน์ของสะพานฟัน

- ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้มที่สวยงามได้ดังเดิม

- ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม

- ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ

- ช่วยแบ่งกระจายแรงบดเคี้ยวให้เป็นไปตามปกติ

- ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง

- ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง

- ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ

- ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ

ประเภทของสะพานฟัน
สะพานฟันแบบธรรมดา

สะพานฟันแบบธรรมดาจะประกอบด้วยครอบฟันประเภทต่างๆแล้วแต่ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งจะมีครอบฟันลอย (Pontic) ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อมครอบฟันที่ยึดติดบนฟันซี่ข้างเคียง การทำครอบฟันประเภทนี้เป็นที่นิยมทำกันโดยทั่วไป

สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
(Cantilever Bridges)

สะพานฟันประเภทนี้จะมีฟันซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการเกาะยึดสะพานฟัน

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
(Maryland Bridges)

สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
(Maryland bridge) หรือ สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน (Resin-bond bridge) นั้น เป็นการทำสะพานฟันที่มีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันด้านข้าง

ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน

ด้านข้าง ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน

1. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ

2. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน

3. สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง)

สะพานฟันประเภทเซรามิกผสมโลหะ และแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีสีสันที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการเลือกใช้สะพานฟันแบบเซรามิกผสมโลหะสำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งสะพานฟันแบบเซรามิกล้วนจะให้ความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ส่วนสะพานฟันแบบโลหะล้วนนั้นจะมี่ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือ แตกเหมือนเซรามิก

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบธรรมดา

1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน

- การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน

- การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน

- การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน

- การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง

- แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำสะพานฟัน

- ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร

2. ขั้นตอนการติดสะพานฟัน

การรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก

การติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด

3. ขั้นตอนการดูแลรักษา

- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน

หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดสะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน

ข้อปฏิบัติหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน

การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง

1. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการติดยึดสะพานฟัน

2. สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวมหรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง

3. ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก

4. อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้ :

- o หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน เย็นหรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น

- การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้

- ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี

5. ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟัน

วิธีการดูแลรักษาหลังเข้ารับการทำสะพานฟัน

1. ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง

2. ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ครั้ง

3. ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก

4. ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณสะพานฟัน

5. ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

การปลูกรากฟันเทียม

การปลูกรากฟันเทียม การปลูกรากฟันเทียมเป็นวิธีการสมัยใหม่ในการแทนที่รากฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์จะทำการฝังรากฟันเทียมลงบนกระดูกรองรับฟัน ซึ่งจะสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่ฟันที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป

ฟันปลอม

ฟันปลอม ฟันปลอม เป็นการทดแทนฟันแบบถอดออกได้ โดยทั่วไปฐานฟันปลอมสามารถทำได้ด้วยพลาสติก และโลหะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เข้ารับบริการ

ในระยะแรกๆของชีวิต เกือบทุกคนจะมีฟันแท้เกือบครบ เมื่อเวลาผ่านไปอาจเริ่มทยอยถอนไปทีละซี่ จนในที่สุดบางคนอาจไม่เหลือฟันแท้เลย จึงจำเป็นต้องทำ ฟันปลอม เพื่อช่วยในการบดเคี้ยว เพื่อความสวยงาม รวมไปถึงเพื่อช่วยในการออกเสียงที่ชัดเจนด้วย นอกจากนี้แล้ว ฟันยังสามารถช่วยลดหรือป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวได้ เช่น การถอนฟันไปซี่เดียวอาจทำให้ฟันข้างเคียงล้ม เกิดช่องว่างระหว่างซอกฟัน เศษอาหารเข้าไปติดเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ตามมา ส่วนฟันคู่สบก็จะเกิดการเสื่อมสภาพ เนื่องจากไม่มีแรงกระตุ้นจาการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เกิดการละลายตัวของกระดูก เอ็นยึดปริทันต์แคบและบางลง อาจทำให้ฟันคู่สบยื่นยาวหรือห้อยออกมา ในภายหลังอาจต้องถอนฟันที่ยื่นนี้ออกและต้องตัดแต่งกระดูกที่ห้อยออกด้วย ในบางรายที่ถอนฟันหลังไปหมด จะมีผลเสียคือ คางจะรั้งขึ้น ทำให้ฟันหน้าสบกันที่ด้านปลายฟัน ทำให้ปลายฟันสึกหรือฟันหน้าล่างอาจไปกัดโดนเพดานทำให้เจ็บเหงือก หรือกัดโดนคอฟันบนทำให้ฟันบนยื่น ผู้ที่ทำครอบฟันหน้า ครอบฟันอาจแต่ได้เพราะต้องรองรับแรงมาก

อย่างไรก็ตามการใส่ ฟันปลอม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อฟันที่เหลืออยู่ ช่วงระหว่างรอยต่อของฟันปลอมและฟันธรรมชาติอาจมีเศษอาหารติดอยู่ก็ให้เกิดฟันผุได้ ส่วนบริเวณที่ฟันปลอมปิดทับ เช่นเพดาน ขอบเหงือก จะขาดการกระตุ้นและทำความสะอาด ก่อให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน ส่วนฟันธรรมชาติที่รองรับฟันปลอมอาจถูกทำลาย อาจโยกและเจ็บปวดภายหลังได้

ฟันปลอมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

- สะพานฟันหรือฟันปลอมชนิดติดแน่น

- ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

- ฟันปลอมทั้งปาก

1. สะพานฟันหรือฟันปลอมชนิดติดแน่น

สะพานฟัน เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันซี่ข้างเคียง เพื่อทำครอบฟันเป็นหลักยึดของสะพานฟัน เพื่อทำฟันปลอม การทำครอบที่ฟันหลักจะช่วยป้องกันฟันผุและให้ความสวยงาม

กรณีที่เหมาะในการทำสะพานฟัน

- ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป

- ฟันหน้าที่ถูกถอนไป และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ

- ในรายที่สูญเสียฟันหลัง และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น

กรณีที่ไม่เหมาะในการทำสะพานฟัน

- ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว

- ฟันหลักไม่แข็งแรงพอ

2. ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

คือฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วนและเป็นฟันปลอมที่สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้

กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

- ฟันหลักด้านท้ายไม่มีทำให้ไม่มีฟันหลักเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน

- ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว

- ช่วงที่เพิ่งถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี ถ้าคอยจนแผลหายเหงือกจะยุบลงไปอีก อาจทำฟันปลอมชนิดถอดได้ใส่ไปก่อนเมื่อสันเหงือกยุบสนิทดีจึงมาเสริมฐานฟันปลอมต่อ การใส่ฟันเร็วจะช่วยคงสภาพสันเหงือกทำให้เหงือกเต็มไม่ยุบตัวมาก

การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องมีตะขอโยงเพื่อยึดฟันอาจทำให้รู้สึกรำคาญ เป็นที่กักขังของเศษอาหาร รับประทานอาหารไม่สะดวกและไม่สวยงาม

3. ฟันปลอมทั้งปาก
กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมทั้งปาก

- ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่แล้ว

- ฟันที่เหลืออยู่มีน้อยซี่ รูปร่างฟัน, กระดูกยึดรอบรากฟันไม่ดี ฟันโยกมาก ใช้เป็นหลักยึดไม่ได้

- สุขภาพช่องปากไม่ดี มีฟันผุมาก ควรถอดทิ้งแล้วทำฟันปลอมทั้งปาก

- ฟันที่เหลืออยู่ไม่สวย อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี มีแนวด้านสบฟันห้อยหรืออยู่นอกสันเหงือก หากทำฟันปลอบถอดได้หรือติดแน่นโดยยึดแนวฟันเดิมจะไม่ได้ความแข็งแรงที่ดี ขาดการยึดแน่น และไม่สวยงาม

ประโยชน์ของทันตกรรมประดิษฐ์ในการทดแทนฟันที่สูญเสียไปมีดังนี้

- ช่วยป้องกันการเคลื่อนหรือล้มของฟันซี่ข้างเคียง

- ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาของการถูกทำลายของเนื้อเยื่อโดยรอบ

- ลดปัญหาความยุ่งยากในการทำความสะอาดฟัน ฟันผุ และโรคเหงือก เนื่องจากฟันล้มหรือฟันเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่ว่าง

- ช่วยเสริมสร้างบุคลิกและรอยยิ้มที่สวยงาม

- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร

- อาจสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการพูด

- ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาของรูปหน้าเนื่องจากการสูญเสียฟัน